ตำบลเชื้อเพลิงแต่เดิมอยู่ในเขตปกครองของตำบลไพล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2524 ได้แยกมาตั้งเป็นตำบลเชื้อเพลิง โดยเริ่มแรกมี 9 หมู่บ้าน และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ได้มีประกาศจัดตั้งจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิงมีที่ทำการอยู่ที่บ้านรำเบอะหมู่ที่ 2 ตำบลเชื้อเพลิง คำว่า “เชื้อเพลิง” มาจากภาษาท้องถิ่น (ภาษาเขมรถิ่นไทย)เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นยาสมุนไพร ใช้สำหรับให้สตรีที่คลอดบุตรขับเลือดหลังจากอยู่ไฟ ซึ่งในเขตของตำบลเชื้อเพลิงนั้นน่าจะเป็นที่อยู่เก่าของชาวเขมรโบราณ โดยทราบจากหลักฐานที่มีการสร้างปราสาทบ้านไพล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมร ชาวเขมรเหล่านี้คงจะตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกับชาวกูยในเขตป่าดงทั่วไปในสมัยนั้น ซึ่งมีการขุดพบศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาเขมรโบราณ ที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ที่วัดจุมพลสุทธาวาส นอกจากนี้ยังได้มีการขุดอีกหลายที่ในจังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่ามีกลุ่มชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนมาตั้งแต่โบราณแล้ว โดยในบริเวณพื้นที่ตำบลเชื้อเพลิงมีหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีการใช้ภาษาเขมรตั้งแต่โบราณจนถึงในปัจจุบัน โดยพบว่ามีการจารึกคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นภาษาเขมรโดยมีหลักฐานที่ วัดมุนีนิรมิต และชาวบ้านในตำบลส่วนมากจะพูดภาษาเขมร คนที่พูดภาษาอื่นมักจะเป็นคนที่มาจากต่างถิ่น ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาเขมร เช่น ไทยลาว ส่วย ชาวตำบลเชื้อเพลิงมีวิถีชีวิตเรียบง่าย รักความสงบ ให้ความเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ หนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ว่างจากการทำนาทำไร่ จะเดินทางไปทำงานรับจ้างในตัวเมืองหรือในเมืองหลวงและเมื่อถึงฤดูทำการเพาะปลูกก็เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อประกอบอาชีพหลักของตน เด็กชายจะได้รับการฝึกให้ทำงานนอกบ้าน เช่น งานในท้องไร่ท้องนา ส่วนเด็กหญิงจะได้รับการสั่งสอนอบรมให้ทำงานภายในบ้าน เช่น การทำอาหาร การเย็บปักถักร้อย และงานทอผ้า อาหารหลักชองชาวบ้านในตำบลเชื้อเพลิงและชาวเขมรถิ่นไทยคือ ข้าวเจ้า(ซึ่งไม่เหมือนกับชาวอิสานทั่วไปที่กินข้าวเหนียว) มีการนำวัตถุดิบที่หาได้ตามธรรมชาติมาประกอบอาหารที่จัดเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น แกงปูใส่เผือก(ละแวกะดาม) สำหรับการแต่งกายจะค่อนข้างเรียบร้อย ถ้ามีงานออกนอกบ้านผู้ชายจะสวมเสื้อคอกลม แขนสั้นยาวแล้วแต่โอกาส นุ่งโสร่งไหม มีผ้าขาวม้าคาดเอว สำหรับหญิงสาวจะสวมเสื้อคอยะวา นุ่งผ้าถุงไหม ซึ่งทำในครอบครัว ถ้าอยู่ในบ้านจะนุ่งผ้าง่าย ๆ สบายๆ ถ้าไปในงานต่างๆจะใช้ผ้าที่สวยงาม เช่น ผ้าโฮล ปะกาปะกุน ปะกาจันทน์ ผู้สูงอายุนิยมห่มผ้าสไบ โดยเฉพาะเวลาไปทำบุญที่วัด ผ้าไหมของชาวตำบลเชื้อเพลิงเป็นผ้าที่มีลวดลายและสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ประจำกลุ่มซึ่งสวยงามมาก ผ้าไหมพื้นเมืองที่มีชื่อคือ ผ้าโฮล ผ้าอำปรุน ผ้าซิ่น
ที่ตั้งของตำบล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิง มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ต่างๆ ดังนี้
-
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
-
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
-
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
-
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
ปัจจุบันตำบลเชื้อเพลิงแบ่งเป็นเขตการปกครองท้องถิ่น มีหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน สภาพทั่วไปของตำบลเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นหนึ่งในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาททางทิศเหนือประมาณ 7.50 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 30.215 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร
หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร (คน) |
รวมทั้งหมด(คน) |
จำนวนครัวเรือน |
||
ชาย |
หญิง |
||||
หมู่ที่ 1 |
บ้านเชื้อเพลิง |
366 |
2 |
738 |
347 |
หมู่ที่ 2 |
บ้านรำเบอะ |
412 |
234319 |
843 |
291 |
หมู่ที่ 3 |
บ้านโพธิ์กอง |
287 |
382314 |
601 |
168 |
หมู่ที่ 4 |
บ้านแสรโบราณ |
247 |
712260 |
507 |
238 |
หมู่ที่ 5 |
บ้านขยอง |
179 |
419196 |
375 |
107 |
หมู่ที่ 6 |
บ้านปราสาท |
338 |
247372 |
710 |
193 |
หมู่ที่ 7 |
บ้านเสม็ด |
189 |
348204 |
393 |
124 |
หมู่ที่ 8 |
บ้านขนาดปรีง |
345 |
220339 |
684 |
197 |
หมู่ที่ 9 |
บ้านหนองซูง |
589 |
290587 |
1,176 |
332 |
หมู่ที่ 10 |
บ้านปรือรูง |
315 |
358345 |
660 |
205 |
หมู่ที่ 11 |
บ้านโสนกพัฒนา |
171 |
145160 |
331 |
92 |
หมู่ที่ 12 |
บ้านเชื้อเพลิงสามัคคี |
382 |
223418 |
800 |
248 |
รวม |
3,820 |
3,998 |
7,818 |
2,542 |